การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ประเทศไทยกำลังส่งเสริมกันอยู่นั้น  หนีไม่พ้นการเรียนรู้ที่เรียกว่า สะเต็มศึกษา โดยใช้ความรู้จากสหวิทยาการทั้ง 4 มาบูรณาการกัน คือ
S  = Science  ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

T = Technology  ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

E = Engineering ความรู้ทางด้านวิศวกรรม
M = Mathematics  ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
ซึ่งในที่นี่ผู้เขียนได้ประยุกต์ จาก 5 Step Learning  จากท่านอาจารย์ที่จุฬาเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ของสะเต็มศึกษา  เป็นขั้นตอนดังนี้
– ตั้งคำถาม
  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ผู้จัดกระบวนการควรมีทักษะในการตั้งคำถาม ที่กระตุ้นการเรียนรู้ โดยชี้ชวนให้คิด เช่น  อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามนุษย์บินได้  จึงทำให้หลายคนในโลกนี้ค้นหาวิธีที่สร้างคำตอบจากคำถามที่ชวนสงสัย กระตุกปัญญาเหล่านี้ โดยการทดลอง ทำซ้ำ   ลองผิดลองถูก จนเกิดเป็นนวัตกรรมต่างๆมากมายบนโลก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คนบินได้แล้ว
 
– แสวงหาสารสนเทศ
โลกในยุคดิจิตัล เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ มีทั้งเครื่องมือ ภาพประกอบ และอาจย่นระยะเวลาการเรียนรู้อย่างมาก สิ่งที่จะทำให้เด็กไทยก้าวทันโลก จึงควรส่งเสริมให้เด็กไทยรู้จักสืบค้น หาข้อมูล รวมถึงการแยกแยะการใช้สื่อให้ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการเรียนรู้ในขั้นตอนนี้ อาจประยุกต์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ และสามารถค้นหาแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้อ้างอิงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
อาทิเช่น Wikipedia / Youtube / Pinterest / Pantip เป็นต้น


– สร้างองค์ความรู้
 หลังจากขั้นตอนการค้นหาสารสนเทศแล้ว เราก็มาเริ่มลงมือปฏิบัติได้เลย ขั้นตอนนี้จะช่วยให้นักเรียนได้ลงมือกระทำ เพราะว่าความคิดดีๆไม่ควรอยู่แต่ในหัวเพียงอย่างเดียว ควรนำมาทดลองปฏิบัติ ซึ่งอาจนำหลักการ PDCA  Model มาใช้ในการลงมือทำงานก็ได้  ( Plan / Do / Check / Action ) จะเห็นว่าทุกช่วงสามารถสร้างเป็นรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ถือว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย และท้าทายให้คิดต่อ ด้วย
– เรียนรู้เพื่อสื่อสาร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ ติดตัวมาตั้งแต่ตอนไหน ไม่แน่ใจ แต่หากเทียบกับเด็กต่างชาติ เด็กไทยจะไม่ค่อยกล้านำเสนอ แม้ความคิดจะดีแค่ไหน แต่เราไม่สามารถนำเสนอให้ผู้อื่นรู้ ทั้งการพูดและการเขียน ก็อาจทำให้องค์ความรู้เหล่านั้น ไม่มีใครทราบ รวมถึงไม่สามารถต่อยอดไปได้ เพราะฉะนั้นขั้นตอนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการที่จะได้สื่อสารต่อเพื่อนร่วมกลุ่ม ต่ออาจารย์พี่เลี้ยงหรือโค้ชของเราเอง รวมถึงต่อสาธารณะชนด้วย

– ตอบแทนสังคม  
สุดท้ายแล้วการพัฒนาความรู้ที่เริ่มต้นจากความสนใจมักก่อเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ และสามารถมาต่อยอดเพื่อช่วยเหลือสังคมได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเด็กไทย ที่ได้ติดอัน 1 ใน 20 คนที่เสนอผลงานต่อ google แล้วได้รับการยอมรับ ผู้ใหญ่ในบ้านเราควรให้การสนับสนุนและดูแลเพื่อให้ผลงานเกิดขึ้นจริง จะช่วยผู้พิการทางได้ยินเป็นอย่างมาก
สนใจติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.eqgroup.co.th
สนใจจัดค่าย จัดกระบวนการ กิจกรรม STEM ได้ที่ คุณหน่อย  065-4919415 / 064-9966524